คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
รายงานข่าวจากกลุ่มผู้ค้าและผู้ผลิตปุ๋ยไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมการค้าภายในได้อนุญาตให้ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายปุ๋ยเคมี ทยอยปรับขึ้นราคาหน้าโรงงานแล้ว ตามต้นทุนแม่ปุ๋ย และค่าขนส่งปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี หลังจากที่ผ่านมาได้มีการขอตรึงราคาไว้ตลอด ซึ่งจะทำให้ราคาจำหน่ายปุ๋ยเคมีในฤดูกาลเพาะปลูกใหม่ ที่กำลังมาถึงนี้มีราคาเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 20-30% จากต้นปี เช่น ราคาหน้าโรงงานปุ๋ยยูเรียจะขึ้นมาเป็นกระสอบ 50 กก. ที่ 1,500 บาท ส่วนราคาขายปลีกแต่ละพื้นที่อาจจะขยับขึ้นมากน้อยแตกต่างกัน 1,700-1,800 บาท ตามต้นทุนค่าขนส่ง และสต็อกสินค้าว่าเป็นของเก่าหรือใหม่ คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
“การขึ้นราคาปุ๋ยเคมีรอบนี้ กรมการค้าภายในอนุญาตให้ขึ้นตามต้นทุนที่แท้จริง ซึ่งหากผู้ประกอบการจะขอขึ้น จะต้องนำหลักฐาน เช่น ราคาใบสั่งซื้อ หรืออินวอยซ์ มาแจ้งว่ามีต้นทุนนำเข้าเท่าไร ซึ่งกรมจะอนุญาตให้ขึ้นไปตามนั้น แต่รอบต่อไปหากราคาปุ๋ยเคมีในตลาดโลกถูกลง ราคาขายในประเทศจะต้องลดลงทันที นอกจากนี้ กรมการค้าภายในยังขอความร่วมือ ให้ผู้ผลิตและผู้ค้าบวกกำไรน้อยลงด้วย เช่น หากราคาหน้าโรงงานขึ้น 50% ราคาปลายทางแก่เกษตรกรอาจขึ้นเพียงครึ่งเดียว เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนต้นทุนการเพาะปลูกแก่เกษตรกร ขณะเดียวกันก็ช่วยให้ผู้ผลิตอยู่ได้ ไม่ขาดทุนเหมือนก่อนหน้าที่สั่งให้ตรึงราคาจนผู้ประกอบการต้องขาดทุนอยู่ไม่ได้”
สำหรับแนวโน้มราคาปุ๋ยเคมีขณะนี้ บางชนิดเริ่มมีแนวโน้มลดลง เช่น ปุ๋ยยูเรีย แต่ปุ๋ยบางชนิดก็มีปรับขึ้นเช่นกัน ดังนั้น ราคาปุ๋ยในตลาดช่วงนี้ยังมีความผันผวนอยู่ อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ และภาคเอกชนพยายามจะบริหารปริมาณปุ๋ยเคมีให้มีเพียงพอไม่เกิดปัญหาขาดแคลน โดยได้มีการเสาะแหล่งนำเข้าแม่ปุ๋ยใหม่ๆ เข้ามาทดแทนบางตลาดที่ขาดหายไป เช่น การเจรจากับรัฐบาลซาอุดีอาระเบีย เพื่อขอนำเข้าแม่ปุ๋ยบางประเภทเข้าไทย ทดแทนการนำเข้าจากเบลารุสและรัสเซีย ที่จำกัดกรส่งออก ซึ่งในเดือน มิ.ย.นี้ จะมีการเดินทางร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ไปเยือนตะวันออกกลาง เพื่อหารือเรื่องนำเข้าปุ๋ยซึ่งไทยจะมีการนำเข้าเฉลี่ยปีละ 5 ล้านตัน
ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย แจ้งว่า ราคาปุ๋ยเคมีปรับพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นประวัติการณ์ ตามราคาวัตถุดิบและอุปทานปุ๋ยในตลาดโลกที่ตึงตัวจากผลกระทบของความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ผนวกกับภาครัฐได้อนุญาตให้ปรับเพิ่มราคาขายปุ๋ยเคมีในประเทศให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงมากขึ้น ประกอบกับค่าเงินบาทที่อ่อนค่า ก็ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ราคาปุ๋ยยูเรียนำเข้าของไทยในปี 65 จะยืนอยู่ในระดับสูงที่กรอบ 950-1,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เร่งขึ้นกว่าเท่าตัวจากปี 64
ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าเกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมัน เป็นกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบมากจากราคาปุ๋ยที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีอัตราการใช้ปุ๋ยต่อไร่สูง ตามมาด้วยยางพาราและอ้อย ขณะที่ ข้าว แม้จะมีอัตราการใช้ปุ๋ยต่อไร่ที่น้อยกว่า แต่ด้วยฤดูเพาะปลูกหลักของข้าวนาปีที่เพิ่งเริ่มต้น ทำให้หากเกษตรกรที่ปลูกข้าวจำนวนมากไม่สามารถปรับตัวได้ ก็อาจจะกระทบต่อปริมาณผลผลิตข้าวทั้งปีนี้ให้ลดลงกว่าที่คาดไว้