จากสถานการณ์ปัจจุบัน ค่าไฟแพงเป็นที่พูดถึงกันมากในช่วงนี้จากความต้องการใช้ไฟที่มีมากขึ้น สะท้อนจากค่าพลังความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (Maximum Demand) ที่มักจะพบว่าอยู่ในช่วงฤดูร้อนทั้งหมด
เสนอ กกต. ขออนุมัติงบกลาง 11,112 ล้านบาท ลดภาระค่าไฟฟ้า
“เมษาที่ร้อนสุดในประวัติศาสตร์” เอเชียเผชิญอากาศร้อนจัด และจะแย่ลงอีก
โดยในปี 2566 คาดว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้นมากกว่าปีก่อนๆ ด้วย ซึ่งสภาพอากาศที่ร้อน นอกจากจะกระทบกับค่าไฟให้ปรับเพิ่มขึ้นแล้ว ยังอาจกระทบกับค่าใช้จ่ายในหมวดอื่นๆ ให้สูงขึ้นด้วย
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า อุณหภูมิที่ร้อนขึ้น อาจกลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเพิ่มเติมที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายครัวเรือนให้ปรับเพิ่มขึ้นใน 3 หมวดหลักๆ คือ
ค่าไฟฟ้า จากการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทยพบว่า ในช่วงฤดูร้อนปี 2566 ค่าไฟของครัวเรือนต่อเดือนเฉลี่ยของผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมืองเพิ่มขึ้นราว 30-50% ทำให้คาดว่าค่าไฟฟ้าของครัวเรือนเฉลี่ยในช่วงเดือนมี.ค.-พ.ค.ในปีนี้จะอยู่ที่ราว 974-1,124 บาทต่อครัวเรือน เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดือนอื่นๆ ของปี ซึ่งเป็นไปตามค่า Ft เฉลี่ยปีนี้ที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน รวมไปถึงความต้องการใช้ไฟฟ้าที่กลับมาสูงสุดในรอบ 3 ปี
นอกจากนี้ อุณหภูมิที่สูงขึ้นยังส่งผลให้เครื่องใช้ไฟฟ้ามีแนวโน้มทำงานหนักขึ้นโดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศและตู้เย็นที่ต้องใช้อัตราการใช้ไฟฟ้ามากกว่าปกติเพื่อที่จะทำงานให้ได้เท่าเดิม ส่งผลให้ครัวเรือนต้องจ่ายค่าไฟแพงขึ้น
ค่าอาหารสัดส่วนค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมากที่สุด พบว่ามักจะขยับสูงขึ้น จากผลของราคาวัตถุดิบที่ปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด กระทบผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงหรือเกิดการเน่าเสียได้ง่ายกว่าปกติ โดยราคาหมูเฉลี่ยพบว่าปรับเพิ่มขึ้นราว 2% เและราคาผักและผลไม้ที่ค่อนข้างแพงกว่าปกติในช่วงเดือน มี.ค.-พ.ค. โดยเฉพาะราคามะนาวที่ปรับเพิ่มกว่า 50%เมื่อเทียบกับราคาในช่วงเดือนอื่นๆ ของปี
นอกจากนี้ ธุรกิจร้านอาหารก็มีต้นทุนส่วนเพิ่มจากการที่ต้องใช้น้ำแข็งและตู้แช่เพื่อเก็บรักษาวัตถุดิบบางประเภทที่เน่าเสียง่าย เช่น อาหารทะเล เนื้อสัตว์ เป็นต้น
นับถอยหลังรอเลย! คาดประเทศไทยเข้าฤดูฝนเดือน พ.ค.นี้
ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ คาดว่ามีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากการใช้จ่ายเพื่อรักษาโรคที่มากับความร้อน เช่น โรคไมเกรน อาหารเป็นพิษ โรคทางผิวหนัง เป็นต้น รวมไปถึงกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงที่อาจจะมีค่าใช้จ่ายในหมวดนี้เพิ่มขึ้น ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้มีโรคประจำตัว กลุ่มเปราะบาง (เด็กและสตรีมีครรภ์) และกลุ่มอาชีพที่ต้องทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานาน ขณะที่ ค่ายา/เวชภัณฑ์ ค่ารักษาพยาบาล ก็มีแนวโน้มปรับตัวสูงตามต้นทุนคำพูดจาก สล็อตออนไลน์
จากอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยที่ปรับเพิ่มขึ้นในปี 2566 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ค่าใช้จ่ายครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือนทั้ง 3 หมวดนี้ (ค่าไฟ ค่าอาหาร ค่าใช้จ่ายสุขภาพ) จะคิดเป็นจำนวนเงินราว 9,666 บาทต่อครัวเรือน เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา (ปี 2565) ที่อยู่ที่ราว 8,868 บาทต่อครัวเรือน หรือขยายตัวราว 9.0%
ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะ "ค่าไฟฟ้า" ที่อาจกระทบคนที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมืองเป็นหลักจากการใช้เครื่องปรับอากาศเพิ่มมากขึ้น แต่ผลกระทบอาจจะลดลงในช่วงเดือนอื่นๆ ของปีที่อุณหภูมิไม่สูงมากนัก ซึ่งก็น่าจะทำให้ค่าไฟ และความต้องการใช้ไฟฟ้าลดลงตาม
ด้วยสภาพการณ์ปัจจุบันที่ครัวเรือนยังคงประสบกับภาวะค่าครองชีพที่สูง ทั้งต้นทุนพลังงาน (ค่าเดินทาง) และต้นทุนทางการเงินที่ยังยืนสูง (หากครัวเรือนมีหนี้หรือจำเป็นต้องกู้ยืม) ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือนอาจจะเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา
นอกจากค่าใช้จ่ายทั้ง 3 หมวดที่ได้กล่าวไปแล้ว สภาพภูมิอากาศที่ร้อนขึ้นก็อาจส่งผลให้ค่าใช้จ่ายหมวดอื่นๆ ปรับเพิ่มขึ้นด้วย เช่น ค่าครีมกันแดด ค่าเสื้อผ้า/อุปกรณ์กันแดด ฯลฯ