สถานการณ์เงินบาทยังคงเป็นที่น่าติดตาม เพราะมีปัจจัยต่างประเทศเข้ามากดดันค่อนข้างมาก โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยังไม่สามารถหาข้อยุติลงได้ ทำให้มีผลต่อเงินทุนเคลื่อนย้ายของนักลงทุนต่างชาติ
“ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” รายงานเงินบาทสัปดาห์ที่ผ่านมาแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 3 เดือนที่ 33.80 บาทต่อดอลลาร์ ต้นสัปดาห์ ก่อนฟื้นตัวกลับมาได้บางส่วน โดยเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงแรกตามสกุลเงินเอเชีย นำโดย เงินเยน ที่ร่วงลงหลังธนาคารกลางญี่ปุ่นส่งสัญญาณสกัดการพุ่งขึ้นของบอนด์ยีลด์ญี่ปุ่น และเงินหยวน ที่อ่อนค่าลงจากความกังวลต่อโควิดในจีน
อย่างไรก็ดีเงินบาทฟื้นตัวกลับมาได้ในระหว่างสัปดาห์รับความหวังต่อการเจรจาสันติภาพระหว่างรัสเซียและยูเครน ขณะที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ย่อตัวลงก็ช่วยหนุนสกุลเงินเอเชียด้วยเช่นกัน โดยเงินบาทอ่อนค่ากลับมาอีกครั้งช่วงปลายสัปดาห์ท่ามกลางแรงซื้อคืนเงินดอลลาร์ เพื่อปรับโพสิชันก่อนการรายงานตัวเลขตลาดแรงงานของสหรัฐ ประกอบกับนักลงทุนรอจับตาการเจรจาระหว่างรัสเซีย-ยูเครน อย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้ในวันศุกร์ (1 เม.ย.) เงินบาทปิดตลาดที่ 33.45 บาทต่อดอลลาร์ เทียบกับระดับ 33.57 บาทต่อดอลลาร์ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (25 มี.ค.) ขณะที่ระหว่างวันที่ 28 มี.ค.-1 เม.ย. นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทยรวม 12,438 ล้านบาท และมีสถานะเป็นซื้อสุทธิ (NET INFLOW) ในตลาดพันธบัตร 5,660 ล้านบาท เป็นซื้อสุทธิพันธบัตร 9,921 ล้านบาท และตราสารหนี้หมดอายุ 4,261 ล้านบาทคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
สำหรับสัปดาห์ถัดไป (4-8 เม.ย.) ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 33.00-33.80 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อเดือน มี.ค.ของไทย รายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เมื่อวันที่ 15-16 มี.ค.ที่ผ่านมา สถานการณ์ยูเครน-รัสเซีย และทิศทางเงินทุนต่างชาติ
ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนี PMI และ ISM ภาคบริการเดือน มี.คคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ยอดสั่งซื้อภาคโรงงาน ข้อมูลสต๊อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือน ก.พ. และตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางออสเตรเลีย รวมถึงดัชนี PMI ภาคบริการเดือน มี.ค. ของจีน ยุโรป และอังกฤษ